Week5



วัน
เป้าหมาย
กระบวนการ
สื่อ/ อุปกรณ์
ขั้นเตรียม:
-ฝึกการมีสติรู้ตัว
กิจกรรม : Removed
ขั้นนำ
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม จากนั้นค่อยๆ ปิดเปลือกตาลง กำกับสติรับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก หายใจเข้าลึก หายใจออกช้า ประมาณ 1 นาที
- นักเรียนค่อยๆ ลืมตาขึ้น จากนั้นนักเรียนแตะสัมผัสที่ปลายนิ้วโดยใช้นิ้วโป้งเป็นฐาน ไล่เรียงนิ้วชี้-ก้อยและย้อนกลับ (2-3รอบ) ครูพูดขอคุณทุกความตั้งใจ
- เพลงสปา
รูปภาพ
- ดินสอ 1 ด้าม(คนละ)
- กระดาษ A5 แผ่น(คนละ)  



ขั้นกิจกรรม:
-เห็นความเชื่อมโยงเคารพในความแตกต่าง
-ฝึกการมีสติรู้ตัวการมีสมาธิจดจ่อ
-เคารพ นอบน้อมต่อตนเองและสรรพสิ่ง
ขั้นกิจกรรม
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ (ดินสอ 1 ด้าม/กระดาษ A5 1 แผ่น) ให้นักเรียนคนละ 1 ชุด โดยแบ่งอุปกรณ์เป็น 2 ตะกร้า ก่อนที่จะรับอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณอย่างนอบน้อมทั้งคนรับและคนส่ง คนที่ได้รับแล้วจะวางอุปกรณ์ของตนเองที่ด้านหน้า
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “อะไรเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด”
- นักเรียนเขียนถ่ายทอดความคิดของตนเองลงในกระดาษ
- ครูให้นักเรียนดูรูปภาพต่อไปนี้











- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไร”และ “นักเรียนคิดอย่างไร”
- นักเรียนเขียนถ่ายทอดความคิดลงในกระดาษ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไร”


ขั้นจบ:
-เคารพคุณค่าตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบ
- ครูชวนนักเรียนกลับมารับรู้ลมหายใจของตนเองอีกครั้ง
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ขอบคุณทุกความตั้งใจ
และไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน

ขั้นเตรียม:
-มีสติจดจ่อกับลมหายใจ
-ฝึกการควบคุมร่างกายและจิตใจ


รำกระบอง
ขั้นนำ                         
- ครูพานักเรียนนยืนวงกลมที่สนามพร้อมกับไม้กระบอง
- นักเรียนยืนกำกับสติด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้าออกของตัวเองหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆ ประมาณ 3 ครั้ง
- ครูเปิดเพลงสปา คลอเบาๆ
- กระบอง
- บรรยากาศรอบๆ

ขั้นกิจกรรม
-ฝึกการควบคุมร่างกายและจิตใจ
-เสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี
-ฝึกการจดจ่ออยู่กับเรื่องที่ทำ
ขั้นกิจกรรม
กางแขนทั้ง 2 ข้างออกแล้วยื่นไปข้างหลังคุณคุณครูนับ 1 – 5
มือทั้ง 2 ข้างจับที่ไหลแล้วหมุน  10 ครั้ง
หมุนคอ  5 ครั้ง
สะบัดข้อมือข้อเท้า ข้างละ  5  ครั้ง
- ครูให้นักเรียนกลับมายืนในท่าที่มั่นคงและสำรวจความพร้อมของตัวเองอย่างมีสติ
- คุณคุณครูพานักเรียนทำท่าโยคะโดยนักเรียนกำหนดลมหายใจเข้าออกช้าๆ รับรู้ที่ลมหายใจของตัวเองเสมอ
จากนั้นเริ่มท่ารำตะบองของชีวจิตนั้นมีอยู่ด้วยกัน 12ท่า ดังต่อไปนี้
6.       ท่าสีลม
12.    ท่าแถม


ขั้นจบ
-เคารพคุณค่าตนเองและผู้อื่น
ขั้นจบEmpower พูดขอบคุณร่างกายที่แข็งแรง และขอบคุณซึ่งกันและกัน

ขั้นเตรียม:
-ฝึกการมีสติ

กิจกรรม : Flower colors art
ขั้นนำ  
- นักเรียนนั่งเป็นวงกลม จากนั้นค่อยๆ ปิดเปลือกตาลง กำกับสติรับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูก หายใจเข้าลึก หายใจออกช้า ประมาณ 1 นาที
- ครูให้นักเรียนทำ Brain Gym สั้นๆ โดยการใช้มือทั้งสองข้างเขียนเป็นรูปเลข แนวตั้ง และแนวนอน
- ครูพูดขอบคุณทุกความตั้งใจ


- เพลงสปา
Clip “Dirty water color  artwork”
- ปากกาดำ 1 ด้าม
- ดอกอัญชัน 5 ดอก- -- พู่กัน อัน
- ช้อน อัน
- น้ำเปล่า 1 ถ้วยเล็ก
- กระดาษ 100 ปอนด์ขนาด A5 คนละ แผ่น

ขั้นกิจกรรม:
-ฝึกการมีสติ จ่อจอ
-เคารพ นอบน้อม ต่อตนเองและผู้อื่น
-เห็นความเชื่อมโยงเคารพในความแตกต่าง
ขั้นกิจกรรม  
- ครูเปิด Clip “Dirty water color  artwork” ให้นักเรียนดู
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเห็นอะไร” “นักเรียนคิดอย่างไร” “คนทำต้องการสื่อสารถึงอะไร”
- ครูให้นักเรียนจับคู่กับคนข้างๆ เพื่อใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ (ดอกอัญชัน 5 ดอก,พู่กัน อัน,ช้อน อัน ,น้ำเปล่า 1 ถ้วยเล็ก,กระดาษ 100 ปอนด์ขนาด A5 คนละ แผ่น) ให้นักเรียนคู่ละ 1 ชุด โดยแบ่งอุปกรณ์เป็น 2 ตะกร้า ก่อนที่จะรับอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณอย่างนอบน้อมทั้งคนรับและคนส่ง คนที่ได้รับแล้วจะวางอุปกรณ์ของตนเองที่ด้านหน้า
- ครูแนะนำอุปกรณ์ทีละชนิด (ดอกอัญชัน,พู่กัน,ช้อน,น้ำ,กระดาษ 100 ปอนด์)
- ครูสาธิตวิธีการขยำดอกไม้เข้ากับน้ำ(เพียงเล็กน้อย)เพื่อสกัดสี จากนั้นสาธิตวิธีการเขียนสีน้ำ และอธิบายเพิ่มเติมว่าคุณสมบัติของสีน้ำคือมีความชุ่มน้ำ ดังนั้นการระบายสีหากมีการย้ำหลายครั้งจะทำให้กระดาษเปื่อยหรือขาดได้ การเพิ่มน้ำหนักจึงใช้วิธีการแตะสีในจุดที่ต้องการ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะสื่อสารถึงที่มาของสีของดอกอัญชัญได้อย่างไร
- นักเรียนวาดภาพสื่อสารถึงที่มาของสีน้ำจากดอกอัญชัญ
- นักเรียนนำเสนอผลงานและสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- เก็บผลงานและอุปกรณ์ โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลังใบหนึ่งใส่อุปกรณ์ที่ใช้ อีกใบหนึ่งเก็บผลงานของแต่ละคนโดยจะส่งต่อกันมาจนถึงครู


ขั้นจบ:
-เห็นค่าคุณตนเองและเคารพผู้อื่น
ขั้นจบ
- ครูชวนนักเรียนกลับมารับรู้ลมหายใจของตนเองอีกครั้ง
- ครูพูดเสริมแรงชื่นชม Empower ขอบคุณดอกอัญชันทุกดอกน้ำทุกหยดที่เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ ขอบคุณทุกความตั้งใจ
- ครูและนักเรียนขอบคุณซึ่งกันและกัน

พฤ
ขั้นเตรียม:
-ฝึกการมีสติรู้ตัว
กิจกรรม : ความทรงจำ
ขั้นนำ  
- ครูให้นักเรียนหลับตา กำกับสติ รับรู้บมหายใจของตนเอง หายใจเข้ารับรู้ว่าท้องยุบ หายใจออกรับรู้ได้ว่าท้องพอง ประมาณ 2 นาที
- ครูให้นักเรียนวางมีทั้งสองข้างทีด้านหน้าของตัวเอง เมื่อครูพูดชื่อนิ้วใดให้ขยับนิ้วนั้นทั้งสองข้าง จากนั้นประสานฟังคำสั่งที่ครูบอกให้ขยับนิ้วตามไล่จนครบ นิ้วชี้ นาง กลาง ก้อย
- เพลงสปา
- กระดาษA4
- ดินสอหรือปากกา
- เรื่องเล่าของครู
- จดหมายของทุกคน

ขั้นกิจกรรม:
-เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของชุมชนที่สะท้อนเรื่องราวทางปัญหาชุมชน
-การวิเคราะห์
-การรับฟังอย่างมีเหตุผลและมีสติ

ขั้นกิจกรรม
- ครูส่งตะกร้าอุปกรณ์ (ดินสอ 1 ด้าม/กระดาษ A5 1 แผ่น) ให้นักเรียนคนละ 1 ชุด โดยแบ่งอุปกรณ์เป็น 2 ตะกร้า ก่อนที่จะรับอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณอย่างนอบน้อมทั้งคนรับและคนส่ง คนที่ได้รับแล้วจะวางอุปกรณ์ของตนเองที่ด้านหน้า
- ครูเล่าเรื่อง ระยะทางกับหลักกิโลเมตร ซึ่งเป็นความทรงจำที่ประทับใจในวัยเด็กของครูให้นักเรียนฟัง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด มีสิ่งใดบ้างที่มีความหมายกับเราและทุกครั้งที่นักเรียนเห็น จะทำให้นึกย้อนไปถึงคนๆนั้น ให้นักเรียนถ่ายทอดสิ่งที่มีความหมายเหล่านั้นเป็นภาพวาด 1 ภาพ
- ครูให้นักเรียน แต่ละคนถ่ายทอดความรู้สึกและภาพวาดของตนเองทีละคน จนถึงคนสุดท้าย
- เก็บผลงานและอุปกรณ์ โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลังใบหนึ่งใส่อุปกรณ์ที่ใช้ อีกใบหนึ่งเก็บผลงานของแต่ละคนโดยจะส่งต่อกันมาจนถึงครู


ขั้นจบ:
-เคารพตนเอง ผู้อื่นและสรรพสิ่งที่อยู่รอบๆตัว
ขั้นจบ ครู Empower ขอบคุณทุกเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านความตั้งใจ ขอบคุณกันและกัน

ขั้นเตรียม:
-ฝึกสติ การรู้ตัว การรับรู้ลมหายใจ

ขั้นกิจกรรม : มายา
ขั้นนำ
นักเรียนนั่งวงกลม/ครูเปิดเพลง สปาคลอเบาๆ
ครูให้นักเรียนหลับตา กำกับสติ รับรู้ลมหายใจของตนเอง หายใจเข้ารับรู้ได้ว่าท้องยุบ หายใจออกรับรู้ได้ว่าท้องพอง ประมาณ 2 นาที
- เพลงสปา
- คำถามและสำนวน ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง


ขั้นกิจกรรม:
เห็นความเป็นมายาที่ซ้อนอยู่ในจักรวาลที่มนุษย์ สมมุติให้เกิดขึ้น 
เห็นความจริงที่มีอยู่ในจักรวาล ว่าทุกสิ่งไม่มีอยู่จริง (เรามีอยู่จริงเพราะมีสิ่งอื่นมองเห็นเรา)
- กำกับสติ  มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ
 - ใคร่ครวญ  เห็นความเชื่อมโยงเห็นคุณค่าของตัวเอง ผู้อื่น หรือสิ่งของ
ขั้นกิจกรรม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ผู้ชายจะเลือกผู้หญิงแบบไหนและเพราะอะไร” โดยไล่ลำดับถามพี่ผู้ชายทีละคน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ผู้หญิงจะเลือกผู้ชายแบบไหนและเพราะอะไร” โดยไล่ลำดับถามพี่ผู้หญิงทีละคน
- ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด มีวิธีดูได้อย่างไร” และ ลักษณะของความจริงใจสามารถพิสูจน์ได้อย่างไร โดยไล่ลำดับถามนักเรียนทีละคน
- ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น และร่วมกันขมวดประเด็นอีกครั้ง


ขั้นจบ:
-เคารพตนเอง ผู้อื่นและสรรพสิ่งรอบตัว
ขั้นจบ  ครู Empower ขอบคุณทุกเรื่องราว ทุกความตั้งใจ ขอบคุณกันและกัน



************************************
กิจกรรม : เชือกวิเศษ
นำกิจกรรม/บันทึก : ครูผักกาด
บันทึกภาพ : ครูตี้
ขั้นเตรียม :

ขั้นกิจกรรม:




ขั้นกิจกรรม: พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ขั้นจบ :

******************************************
กิจกรรม : ต้นไม้แห่งชีวิต
นำกิจกรรม/บันทึก : ครูผักกาด
บันทึกภาพ : ครูตี้
ขั้นเตรียม :
ขั้นกิจกรรม :





ขั้นจบ :


Body scan(แบบนอน)
นำกิจกรรม : ครูตี้
ภาพบรรยากาศ/บันทึก : ครูผักกาด

ขั้นเตรียม : นั่งเป็นวงกลม ทุกคนกลับมารับรู้ลมหายใจของตัวเองที่ปลายจมูก
ขั้นScan : ผ่อนคลายส่วนต่างๆ บนใบหน้า ตั้งแต่คลายคิ้วที่ขมวดอยู่ออกให้รู้สึกสบายผ่อนคลาย ริมฝีปากที่เม้มอยู่ค่อยคลายออกให้รู้สึกผ่อนคลาย จากนั้นไล่เรียงลงไปเรื่อยๆจนถึงปลายเท้า
ขั้นใส่ข้อมูล : เราจะขอบคุณส่วนต่างๆของร่างกาย ขอบคุณเท้าที่แข็งแรงที่ช่วยรับน้ำหนักของเราและทำให้เรายืนหยัดได้อย่างมั่นคง ขอบคุณแขนและมือที่แข็งแรงที่ช่วยให้เราได้หยิบจับสิ่งของและทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับผู้อื่น

ขั้นใส่ข้อมูล : เราจะบอกกับตัวเองว่าเราเป็นพี่ม.3 ที่น่ารัก เป็นพี่ม.3 ที่ยอดเยี่ยม เรารู้เวลารู้หน้าที่ เราจะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเป็นที่รักที่พึ่งพาของครูและน้องๆได้


ขั้นปลุก : ครูชวนนักเรียนกลับมารับรู้ลมหายใจของตัวเองอีกครั้ง ครูนับ1-3เพื่อให้นักเรียนกลับมารับรู้ที่ส่วนต่างๆของร่างกาย
ใช้ปลายนิ้วเคาะเบาๆ ที่ศรีษะไล่ลงมาถึงหัวไหล่ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายกลับมาใช้ประสาทสัมผัสได้เต็มที่อีกครั้ง


        นวดกดจุดบริเวณเปลือกตาทั้งสองข้างของตนเอง

บีบนวดให้กับเพื่อน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายกลับมากระปรี้กระเปร่าอีกครั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น